วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Posted by Unknown |
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้น ทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์และส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีผู้ที่มีความ ประพฤติไม่ดีปะปนและสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นอยู่เสมอ หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฏเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือ ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์และได้รับประโยชน์สูงสุด ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องเข้าใจกฏเกณฑ์ข้อ บังคับของ เครือข่ายนั้นมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้อง รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายบนระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้ามิได้เป็นเพียงเครือ ข่ายขององค์กรที่ผู้ใช้สังกัด แต่เป็นการเชื่อมโยงของเครือข่ายต่างๆ เข้าหากันหลายพันหลายหมื่นเครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารอยู่ระหว่างเครือข่าย เป็นจำนวนมาก การส่งข่าวสารในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่าย อื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากหรือแม้แต่การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่งก็อาจจะ ต้องเดินทางผ่านเครือข่ายอีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาปริมาณข้อมูลข่าวสาร ที่วิ่งอยู่บนเครือข่าย การใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตน่าใช้และ เป็นประโยชน์ร่วมกันอย่างดี กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยงเช่นการส่งกระจายข่าวไป เป็นจำนวนมากบนเครือข่าย การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียโดยรวมต่อผู้ใช้และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต 

        บัญญัติ 10 ประการ

  1.  ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
  2.  ไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
  3.  ไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
  4.  ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
  5.  ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
  6.  ไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
  7.  ไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
  8.  ไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
  9.  คำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
10.  ใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกามารยาท
       จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบความรับผิดชอบต่อ สังคมเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกฎเกณฑ์ของแต่ละเครือข่ายจึงต้องมีการวาง ระเบียบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและ กัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษและจรรยาบรรณที่ชัดเจน เพื่อช่วยให้สังคมสงบสุขและหากการละเมิดรุนแรงกฎหมายก็จะเข้ามามีบทบาทได้เช่นกัน




ที่มา : หนังสือเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.๕
Posted by Unknown |
          อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน กล่าวคือ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลก สามรถเข้าถึงข้อมูลได้ไม่จำกัดสถานที่และเวลา ดังนั้น จึงมีการนำอินเทอร์เน็ตไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท

          1.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล (electronic mail หรือ e-mail)
      เป็นบริการใช้ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากผู้ใช้งานสามรถรับส่งข้อความเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร กับบุคคลอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้บริการระบบไปรษณีย์แบบดั้งเดิม นอกจากนี้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถส่งข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากตัวอักษรได้อีกด้วย เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง เป็นต้นแนบไปได้อีกด้วย
         การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องมีการระบุที่อยู่ของผู้รับเช่นเดียวกับการระบุที่อยู่บนซองของการส่งไปรษณีย์ธรรมดาทั่วไป ซึ่งในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีที่อยู่เรียกว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรส (e-mail Address)


        2.การสืบค้นข้อมูลแบบเครือข่ายใยแมงมุม (Wold Wide Web : WWW)
                 เป็นการสื่อสารที่เติบโตเร็วที่สุดในอินเตอร์เน็ต ด้วยเหตุผลที่สำคัญคือง่ายต่อการใช้งานและสามารถนำเสนอข้อมูลกราฟิกได้ การใช้ World Wide Web เปรียบเสมือนการเข้าไปอ่านหนังสือในห้องสมุดโดยหนังสือที่มีให้อ่านจะสมบูรณ์มากกว่าหนังสือทั่วไป เพราะสามารถฟังเสียงและดูภาพเคลื่อนไหวประกอบได้ นอกจากนี้ยังสามารถโต้ตอบกับผู้อ่านได้ด้วย ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งคือข้อมูลต่าง ๆ จะมีการเชื่อมโยงถึงกันได้ด้วยคุณสมบัติ
ของ HyperText Link
                  WWW คืออะไร การใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบ WWW (World Wide Web) เป็นเครื่องมือในการ
ให้บริการข้อมูลข่าวสารบนอินเตอร์เน็ตที่ใช้ได้ง่าย สามารถชมได้ทั้งภาพนิ่ง เสียง VDO แม้แต่ส่ง Pager หรือจะสั่ง Pizza ก็ได้

                  ในปัจจุบันมีโปรแกรมในลักษณะของ WWW อยู่หลายตัวและหลายเวอร์ชั่นมากมาย แต่ละตัว
จะเหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิด โปรแกรมที่จะพาผู้ใช้เข้าถึงบริการในลักษณะของ WWW เรียกว่า “บราวเซอร์” (Browser) ตามลักษณะของการใช้บริการดังกล่าวที่ดูเสมือนการเปิด หนังสือดู ไปทีละหน้า เหมือนการใช้ Online Help นั่นเอง
        3.การโอนย้ายข้อมูล (File Transfer Protocol : FTP)
                 การโอนย้ายข้อมูล หรือที่นิยมเรียกกันว่า FTP เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้กันมากพอสมควรในอินเตอร์เน็ต โดยอาจใช้เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลรวมถึงโปรแกรมต่าง ๆ ทั้งที่เป็น freeware sharewareจากแหล่ง ข้อมูลทั้งหลายมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้งานอยู่ ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งที่กำหนดให้ Serverของตนทำหน้าที่เป็น FTP site เก็บรวบรวมข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ สำหรับให้บริการ FTP ที่นิยมใช้กันมากได้แก่WS_FTP, CuteFTP   
การโอนย้ายไฟล์สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ 
                1. การดาวน์โหลดไฟล์ (Download File ) การดาวน์โหลดไฟล์ คือ การรับข้อมูลเข้ามายังเครื่อง
คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่จัดให้มีการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรี เช่น http://www.download.com 
                2. การอัพโหลดไฟล์ (Upload File) การอัพโหลดไฟล์คือการนำไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้ในเครื่องที่ให้บริการ (Server) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กรณีที่ทำการสร้างเว็บไซต์ จะมีการอัพโหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บไซต์ (Web server ) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่ (web server) โปรแกรมที่ช่วยในการอัพโหลดไฟล์เช่น FTP Commander

        4. การแลกเปลี่ยนข่าวสาร (USENET)
                การสื่อสารประเภทนี้มาที่มาจากกระดานประกาศข่าว หรือ   Bulletin Board    กล่าวคือ ผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน จะรวมกลุ่มกันตั้งเป็นกลุ่มข่าวของแต่ละประเภท     เมื่อมีข้อมูลใหม่ที่จะเป็น
ประโยชน์ต่อสมาชิกผู้อื่น หรือมีปัญหาหรือคำถามที่ต้องการความช่วยเหลือหรือคำตอบ ผู้นั้นก็จะส่งข้อมูลของตน
เข้าไปติดประกาศไว้ในอินเตอร์เน็ต โดยเครื่องที่ทำหน้าที่ติดประกาศ คือ News Server เมื่อสมาชิกอื่นอ่านพบ ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมหรือมีบางอย่างไม่ถูกต้อง หรือมีคำตอบที่จะช่วยแก้ปัญหาให้ได้ สมาชิกเหล่านั้นก็จะส่งข้อมูล
ตอบกลับไปติดประกาศไว้เช่นกัน


        5. การเข้าใช้เครื่องระยะไกล (Telnet)
                Telnet เป็นการขอเข้าไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตจากระยะไกล โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปนั่งอยู่หน้าเครื่อง เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้อาจอยู่ภายในสถานที่เดียวกับผู้ใช้ หรืออยู่ห่างกันคนละทวีปก็ได้ แต่ทั้งนี้ผู้ใช้ต้องมี account และรหัสผ่านจึงจะสามารถเข้าใช้เครื่องดังกล่าวไดส่วนคำสั่งในการ ทำงานนั้นขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการของเครื่องที่เข้าไปขอใช้


        6. การสนทนาผ่านเครือข่าย (Talk หรือ Chat)
                เป็นการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง คือสามารถสื่อสารโต้ต อบกันได้ทันทีเหมือนการใช้โทรศัพท์ ในการสนทนาผ่านเครือข่ายนี้สามารถทำได้ทั้งแบบ Text-based และ Voice-based โดยในระยะแรกจะจำกัด
เฉพาะ Text-based คือใช้วิธีการพิมพ์เป็นข้อความในการสื่อสารโต้ตอบระหว่างกัน โปรแกรมที่นิยมใช้คือ Talk และ IRC (Internet Relay Chat) ต่อมาเมื่อมีการพัฒนามากขึ้นทั้งด้าน Hardware และ Softwareทำให้ปัจจุบัน เราสามารถสทาอสารกันทาง Voice-based ได้ด้วย โปรแกรมที่ใช้ในการสื่อสารประเภทนี้ เช่น NetMeeting ของไมโครซอฟต์ หรือ Inter Phone ของ Vocaltec ฯลฯ



ที่มา: http://mimmira.wordpress.com/2013/08/06/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87/
Posted by Unknown |
ในสังคมสารสนเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความรู้ความเข้าใจในระบบอินเทอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนในสังคม ซึ่งในปัจจุบันถ้ากล่าวถึงอินเทอร์เน็ต หลายๆ คนคงรู้จักและเคยใช้บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) การพูดคุยออนไลน์ (talk) เป็นต้น



         2.1 ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (Internet)   คือ  เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน มาจากคำว่า Inter Connection Network

       อินเทอร์เน็ต (Internet)  เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
ทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ โดยใช้มาตรฐานในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่า
โปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

     พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต

        ปี พ.ศ. 2500 (1957) โซเวียดได้ปล่อยดาวเทียม Sputnik ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น ค.ศ. 2512 (1969) กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และความเป็นไปได้ในการถูกโจมตี ด้วยอาวุธปรมาณู หรือนิวเคลียร์ การถูกทำลายล้าง ศูนย์คอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ และในยุคนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีหลากหลายมากมายหลายแบบ ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรมกันได้ จึงมีแนวความคิด ในการวิจัยระบบที่สามารถ 
เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้ ตลอดจนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ได้อย่างไม่ผิดพลาด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่อง หรือสายรับส่งสัญญาณ เสียหายหรือถูกทำลาย กระทรวงกลาโหมอเมริกัน (DoD = Department of Defense) ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA (Defense Advanced Research Project Agency) ภายใต้การควบคุมของ Dr. J.C.R. Licklider ได้ทำการทดลอง ระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น ARPANet (Advanced Research Projects Agency Network) และต่อมาได้พัฒนาเป็น INTERNET ในที่สุด



ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/71648
Posted by Unknown |
สามารถเลือกใช้ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ( Network OS ) เป็นระบบปฎิบัติการสำหรับออกแบบและจัดการงานด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ ปัจจุบันระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนต์เซิร์ฟ เวอร์ คือการจัดการข้อมูลและโปรแกรมทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์และส่วนประกอบ อื่นๆของระบบปฎิบัติการเครือข่ายจะทำงานอยู่บนเครื่องไคลเอนด์ เช่นการประมวลผล การติดต่อกับผู้ใช้ เป็นต้น

            ปัจจุบันซอฟต์แวร์สำหรับระบบเครือข่ายขนาดเล็ก  มีให้เลือกใช้งานหลายโปรแกรม   เช่น

       1.   ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ เซ็นต์โอเอส (linux community enterprise operating system) นิยมเรียกย่อว่า CentOS เป็นซอฟซ์แวร์เปิดเผยโค้ด (open source software) ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดไปใช้งาน หรือแก้ไขได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ แต่ผู้ดูแลระบบต้องเรียนรู้ระบบก่อนใช้งาน สามารถเรียนรู้ผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ

      2.    ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ (windows server) ปัจจุบันถูกพัฒนาเป็น Windows Server 2008  ออกแบบเพื่อสนับสนุนระบบเครือข่าย แอพพลิเคชั่นและบริการอื่นๆ ที่มีความทันสมัยบนเว็บไซต์   และยังเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบปฏิบัติการพื้นฐาน เช่น ระบบเครื่องมือเว็บ เทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชัน เพิ่มคุณภาพความปลอดภัย เครื่องมือจัดการช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรอื่นๆ ได้มากขึ้น โดยมีคุณสมบัติ ดังนี้


             1. สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับภาระงานของเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงความต้องการด้ารแอพพลิเคชันต่างๆด้วย ในขณะเดียวกันก้อสามารถติดตั้งและดูแลได้ง่าย ระบบมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งจากความสามารถรวมถึงคุณลักษณะต่างๆ ที่หลากหลายของระบบ ทำให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถเข้าถึงข้อมูลและแอพพลิเคชันต่างๆ ได้ทุกเวลาที่ต้องการ

             2. เวอร์ชวลไลเซชัน (virtualization)  ซึ้งเป็นเทคโนโลยีการสร้างระบบเสมือนจริงที่มีรากฐานจากระบบ hypervisor ช่วยให้สามารถรวมเซิร์ฟเวอร์และใช้งานฮาร์ดแวร์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

             3. มีระบบการจัดการดูแลเว็บ ระบบวิเคราะห์ปัญหา เครื่องมือพัฒนา และแอพพลิเคชันที่ได้รับการพัฒนามากขึ้น

             4. ระบบความปลอดภัย ได้รับการพัฒนาให้มีความทนทานมากขึ้น  พร้อมทั้งผสานการใช้เทคโนโลยีด้าน IDA หลายชิ้น และมีนวัตกรรมด้านความปลอดภัยทำได้ง่ายขึ้น ช่วยปกป้องโครงสร้างพื้นฐานของระบบเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงข้อมูลที่สำคัญด้วย
Posted by Unknown |
       จากข้อจำกัดของเครือข่ายที่ใช้สายแลนด์ที่ไม่สามารถเดินสายให้มีความยาวมากกว่า  100 เมตรได้  จึงต้องหาทางเลือกสำหรับระบบ เครือข่ายระยะไกล

                     ในกรณีที่เครือข่ายมีการรับส่งข้อมูลจำนวนมาก  ควรเลือกใช้เราเตอร์เพื่อช่วยลดปัญหาความหนาแน่นของข้อมูลในเครือข่าย แต่เนื่องจากเราเตอร์มีราคาแพงจึงต้องประเมินความคุ้มค่าหากต้องการจัดซื้อมาใช้งาน

       แบบที่ 1  คือ ต้องติดตั้งเครื่องทวนสัญณาณ (repeater) ไว้ทุกๆระยะ 100 เมตร เพราะเนื่องจากข้อจำกัดที่ไม่สามารถติดตั้งฮับหรือสวิตซ์โดยผ่านสายตีเกลียวคู่ได้

       แบบที่ 2  คือ ใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์เข้าหากันเมื่อต้องการเชื่อมต่อ และเมื่อเสร็จสิ้นธุรกิจแล้วก็ยกเลิกการเชื่อมต่อ แต่ความเร็วที่ได้จะได้แค่เพียงความสามารถของสายโทรศัพท์

       แบบที่ 3   คือ เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในปัจจุบันสายสัญญาณที่เลือกใช้คือสายใยแก้วนำแสง สามารถส่งข้อมูลได้ระยะทางไกลและมีความเร็วสูง  รวมถึงความปลอดภัยของข้อมูล

       แบบที่ 4   คือ ใช้จุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย (wireless lan) เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สัญาณวิทยุทางอากาศแทนการใช้สายโทรศัพท์ เพื่อลดปัญหาจากการใช้สายสัญญาณ เหมาะสำหรับการติดตั้งในพื้นที่ที่มีขนาดจำกัด

       แบบที่ 5   คือ เทคโนโลยี G.SHDSL  ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีตระกูล DSL (Digital Subsciber Line) เป็นเทคโนโลยีโมเด็มที่ทำให้คู่สายทองแดงธรรมดากลายเป็นสื่อสัญญาณดิจิทัลความเร็วสูง โดยใช้เทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณข้อมูล ในย่านความถี่ที่สูงกว่าการใช้งานโทรศัพท์โดยทั่วไป ทำให้สามารถส่งข้อมูลในขณะเดียวกันกับการใช้งานโทรศัพท์ได้

       แบบที่ 6   คือ เทคโนโลยีแบบ ethernet  over VDSL เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแบบล่าสุดที่สามารถติดตั้งใช้งานได้เอง จึงทำให้มีต้นทุนต่ำโยสามารถเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์ทั่วไป
Posted by Unknown |
           การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่ใช้กันในปัจจุบันมี 2 แบบหลักๆ คือ  การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้  การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล

             2.1   การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้   

            หากมีคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายไม่เกินสองเครื่อง อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายนอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว  ยังต้องมีการ์ดแลนด์และสายสัญญาณ  โดยไม่ต้องใช้ฮับและสวิตซ์ เพราะถ้ามีคอมพิวเตอร์แค่สองเครื่อง ก็สามารถเชื่อมต่อให้เป็นวงแลนได้โดยใช้สายไขว้ (cross line) เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่องเข้าหากันโดยตรงได้ แต่ถ้ามีคอมพิวเตอร์ในระะบบเครือข่ายมากกว่าสองเครื่อง ควรใช้สวิตซ์หรือฮับด้วย โดยในกรณีที่เครือข่ายมีขนาดไม่ใหญ่นัก ควรเลือกใช้ฮับ เนื่องจากสวิตซ์มีราคาแพง

             การตัดสินใจซื้อ ฮับและสวิตซ์ มาใช้จะต้องคำนึงถึงเรื่องการขยายระบบเครือข่ายในอนาคตด้วย  ควรเลือกฮับและสวิตซ์ที่สามารถรับรองจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เท่ากับ จำนวนที่คาดว่าจะมีในอนาคต หรือเลือกฮับหรือสวิตซ์ที่ใช้พอร์ตจำพวก up link ทำหน้าที่เป็น back bone ความเร็วสูง ทำให้สามารถพ่วงกับฮับหรือสวิตซ์อีกตัวได้ หากจะขยายระบบเครือข่ายก็เพียวซื้อฮับหรือสวิตซ์เพิ่มเข้าไปได้ทันที

              ใน กรณีที่ในเครือข่ายมีการรับส่งข้อมูลจำนวนมาก ควรเลือกใช้เราเคอร์เพื่อช่วยลดปัญหาความหนาแน่นของข้อมูลในเครือข่าย แต่เนื่องจากเราเตอร์มีราคาแพงจึงต้องประเมินความคุ้มค่าหากต้องการจัดซื้อ มาใช้งาน
Posted by Unknown |
การติดตั้งเครือข่ายขนาดเล็ก มีจุดประสงค์เพื่อใช้งานภายในบ้านหรือในสำนักงานขนาดเล็ก เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น ข้อมูล เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ เป็นต้น


              1.  อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายขนาดเล็ก มีหลายชนิด ได้แก่ การ์ดแลน ฮับ สวิตซ์ โมเด็ม เราเตอร์ สายสัญญาณ ซึ่งอุปกรณ์แต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ดังนี้

                   1.1    การ์ดแลน (lan card) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ ที่รับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปสู่คอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านสายแลน ซึ่งในอดีตเป็นอุปกรณ์เสริมที่ใช้ต่อเพิ่มเข้ากับเมนบอร์ด เนื่องจากความต้องการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายกลายเป็นความจำเป็นพื้นฐานของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
                   1.2     ฮับ (hub) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เสมือนกับชุมทางข้อมูล  หน้าที่เป็นตัวกลางคอยส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่ส่งผ่านฮับจะกระจายไปยังคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ต่ออยู่กับฮับ ซึ่งแต่ละเครื่องจะเลือกรับเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเองเท่านั้น จากการทำงานในลักษณะนี้ ทำให้เครือข่ายที่ใช้ฮับเป็นตัวกระจายสัญญาณจะสามารถส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายได้ทีละเครื่อง ซึ่งหากมีการส่งข้อมูลพร้อมกัน การรับส่งข้อมูลจะทำได้ช้ามาก ปัจจุบันฮับจึงไม่ได้รับความนิยมในการเชื่อมต่อเรือข่าย

                   1.3    สวิทช์ (switch) เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณเช่นเดียวกับฮับ  แต่ต่างจากฮับ  คือ การรับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งนั้นจะไม่กระจายไปยังทุกเครื่อง เนื่องจากสวิทช์จะรับกลุ่มข้อมูลมาตรวจสอบก่อนว่าเป็นข้อมูลของเครื่องใด แล้วจึงนำข้อมูลนั้นๆ ส่งไปยังเครื่องปลายทางอย่างอัตโนมัติ เปรียบได้กับการทำงานของสายโทรศัพท์ที่หลายๆคู่สายสามารถพูดคุยพร้อมๆ กันได้ สวิตซ์ช่วยลดปัญหาการชนกันของข้อมูลเพราะไม่ต้องกระจายข้อมูลไปทุกสถานี และยังช่วยป้องกันการดักรับข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย จากคุณลักษณะนี้ทำให้สวิคซ์สามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าฮับ แต่สวิตซ์จะมีราคาแพงกว่าฮับ

                   1.4    โมเด็ม (modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณเพื่อใหสามารถส่งผ่านสายโทรศัพท์ (telephone) หรือใยแก้วนำแสงได้ (fiber opic cable) ได้ทำให้สามารถส่งสัญญาณได้ไกล


                   1.5     อุปกรณ์จัดเส้นทางหรือ เราเตอร์ (router)  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน การส่งข้อมูลจึงมีหลายเส้นทาง เราเตอร์ทำหน้าที่เลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการส่งผ่านข้อมูล เพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดการล้มเหลวในการส่งข้อมูล จากคุณสมบัติดังกล่าวทำให้เราเตอร์มีราคาสูง

                   1.6    สายสัญญาณ (cable)  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูลมีหลายแบบไม่ว่าจะเป็นสายโคแอกซ์ (coaxial cable) สายตีเกลียวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวน (Unshielded Twisted Pair : UTP) สายตีเกลียวคู่แบบป้องกันสัญญาณรบกวน (Shielded Twisted Pair : STP) และสายใยแก้วนำแ
สง (fiber opic cable)