สามารถเลือกใช้ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ( Network OS ) เป็นระบบปฎิบัติการสำหรับออกแบบและจัดการงานด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ ปัจจุบันระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนต์เซิร์ฟ เวอร์ คือการจัดการข้อมูลและโปรแกรมทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์และส่วนประกอบ อื่นๆของระบบปฎิบัติการเครือข่ายจะทำงานอยู่บนเครื่องไคลเอนด์ เช่นการประมวลผล การติดต่อกับผู้ใช้ เป็นต้น
ปัจจุบันซอฟต์แวร์สำหรับระบบเครือข่ายขนาดเล็ก มีให้เลือกใช้งานหลายโปรแกรม เช่น
1. ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ เซ็นต์โอเอส (linux community enterprise operating system) นิยมเรียกย่อว่า CentOS เป็นซอฟซ์แวร์เปิดเผยโค้ด (open source software) ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดไปใช้งาน หรือแก้ไขได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ แต่ผู้ดูแลระบบต้องเรียนรู้ระบบก่อนใช้งาน สามารถเรียนรู้ผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ
2. ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ (windows server) ปัจจุบันถูกพัฒนาเป็น Windows Server 2008 ออกแบบเพื่อสนับสนุนระบบเครือข่าย แอพพลิเคชั่นและบริการอื่นๆ ที่มีความทันสมัยบนเว็บไซต์ และยังเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบปฏิบัติการพื้นฐาน เช่น ระบบเครื่องมือเว็บ เทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชัน เพิ่มคุณภาพความปลอดภัย เครื่องมือจัดการช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรอื่นๆ ได้มากขึ้น โดยมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับภาระงานของเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงความต้องการด้ารแอพพลิเคชันต่างๆด้วย ในขณะเดียวกันก้อสามารถติดตั้งและดูแลได้ง่าย ระบบมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งจากความสามารถรวมถึงคุณลักษณะต่างๆ ที่หลากหลายของระบบ ทำให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถเข้าถึงข้อมูลและแอพพลิเคชันต่างๆ ได้ทุกเวลาที่ต้องการ
2. เวอร์ชวลไลเซชัน (virtualization) ซึ้งเป็นเทคโนโลยีการสร้างระบบเสมือนจริงที่มีรากฐานจากระบบ hypervisor ช่วยให้สามารถรวมเซิร์ฟเวอร์และใช้งานฮาร์ดแวร์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
3. มีระบบการจัดการดูแลเว็บ ระบบวิเคราะห์ปัญหา เครื่องมือพัฒนา และแอพพลิเคชันที่ได้รับการพัฒนามากขึ้น
4. ระบบความปลอดภัย ได้รับการพัฒนาให้มีความทนทานมากขึ้น พร้อมทั้งผสานการใช้เทคโนโลยีด้าน IDA หลายชิ้น และมีนวัตกรรมด้านความปลอดภัยทำได้ง่ายขึ้น ช่วยปกป้องโครงสร้างพื้นฐานของระบบเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงข้อมูลที่สำคัญด้วย
ปัจจุบันซอฟต์แวร์สำหรับระบบเครือข่ายขนาดเล็ก มีให้เลือกใช้งานหลายโปรแกรม เช่น
1. ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ เซ็นต์โอเอส (linux community enterprise operating system) นิยมเรียกย่อว่า CentOS เป็นซอฟซ์แวร์เปิดเผยโค้ด (open source software) ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดไปใช้งาน หรือแก้ไขได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ แต่ผู้ดูแลระบบต้องเรียนรู้ระบบก่อนใช้งาน สามารถเรียนรู้ผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ
2. ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ (windows server) ปัจจุบันถูกพัฒนาเป็น Windows Server 2008 ออกแบบเพื่อสนับสนุนระบบเครือข่าย แอพพลิเคชั่นและบริการอื่นๆ ที่มีความทันสมัยบนเว็บไซต์ และยังเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบปฏิบัติการพื้นฐาน เช่น ระบบเครื่องมือเว็บ เทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชัน เพิ่มคุณภาพความปลอดภัย เครื่องมือจัดการช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรอื่นๆ ได้มากขึ้น โดยมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับภาระงานของเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงความต้องการด้ารแอพพลิเคชันต่างๆด้วย ในขณะเดียวกันก้อสามารถติดตั้งและดูแลได้ง่าย ระบบมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งจากความสามารถรวมถึงคุณลักษณะต่างๆ ที่หลากหลายของระบบ ทำให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถเข้าถึงข้อมูลและแอพพลิเคชันต่างๆ ได้ทุกเวลาที่ต้องการ
2. เวอร์ชวลไลเซชัน (virtualization) ซึ้งเป็นเทคโนโลยีการสร้างระบบเสมือนจริงที่มีรากฐานจากระบบ hypervisor ช่วยให้สามารถรวมเซิร์ฟเวอร์และใช้งานฮาร์ดแวร์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
3. มีระบบการจัดการดูแลเว็บ ระบบวิเคราะห์ปัญหา เครื่องมือพัฒนา และแอพพลิเคชันที่ได้รับการพัฒนามากขึ้น
4. ระบบความปลอดภัย ได้รับการพัฒนาให้มีความทนทานมากขึ้น พร้อมทั้งผสานการใช้เทคโนโลยีด้าน IDA หลายชิ้น และมีนวัตกรรมด้านความปลอดภัยทำได้ง่ายขึ้น ช่วยปกป้องโครงสร้างพื้นฐานของระบบเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงข้อมูลที่สำคัญด้วย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น